มะเร็งตับ

มะเร็งตับ โรคเงียบที่คนไทยมีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุด โดยเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ในเพศชาย และอันดับ 3 ในเพศหญิง

มะเร็งตับ (Hepatocellular Carcinoma) เกิดจากเซลล์ของตับที่เป็นมะเร็ง เกิดการแบ่งตัวแล้วแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ โรคนี้จะไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่จะแสดงอาการในระยะกลาง-ระยะสุดท้ายแล้ว ทำให้อันตรายอย่างมาก

มะเร็งตับ

อาการของมะเร็งตับ

– ปวดท้อง

– น้ำหนักลด

– คลำเจอก้อนแข็งบริเวณท้องส่วนบน

– ท้องมาน

– ตัวเหลือง ตาเหลือง

– เท้าบวม

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งตับ

– ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี, ซี

– ไขมันพอกตับจากเบาหวาน และโรคอ้วน (Fatty Liver)

– ผู้ป่วยโรคตับแข็ง จากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือสาเหตุอื่น

– อาหารที่มี Aflatoxin, Nitrites สูง

วิธีตรวจมะเร็งตับในปัจจุบัน

– ซักประวัติและตรวจร่างกาย

– ตรวจเลือดดูการทำงานของตับ ไวรัสตับอักเสบ และสารบ่งชี้มะเร็งตับ (Alpha-Fetoprotein)

– ตรวจทางรังสีที่ตับและช่องท้อง เช่น ตรวจอัลตราซาวนด์ ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT Scan และตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI

– ตัดชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษามะเร็งตับ

– การผ่าตัด เช่น ตัดออกบางส่วน หรือปลูกถ่ายตับ สำหรับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ จะสามารถทำได้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีก้อนในตับขนาดน้อยกว่า 5 ซม. และต้องมีอายุไม่เกิน 70 ปี

– การทำลายเนื้อเยื่อมะเร็งตับ เช่น ใช้ความร้อนแบบ Radiofrequency Ablation หรือ Microwave Ablation, รักษาด้วยการใช้ความเย็น, และรักษาด้วยการใช้แอลกอฮอล์

– การฉายรังสีจากภายนอกลำตัว เพื่อทำให้แสงรังสีมุ่งเป้าเฉพาะเจาะจงต่อเนื้อเยื่อมะเร็งตับ โดยไม่ให้เกิดภาวะข้างเคียงต่ออวัยวะรอบข้าง

– รังสีวิทยา เช่น การใส่ยาคีโม การใส่สารรังสี เพื่อทำลายชิ้นเนื้อมะเร็งตับ

– ภูมิคุ้มกันบำบัด เช่น PD-1 and PD-L1 Inhibitors และ CTLA-4 Inhibitor

– ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) คือ Kinase Inhibitor และ Monoclonal Antibodies

ข้อจำกัดในการรักษามะเร็งตับ

– กายวิภาคตับค่อนข้างซับซ้อน การรักษามะเร็งตับจึงรักษาได้ยาก

– มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนในการผ่าตัดมากพอสมควร ที่ผ่านมามีอัตราการเสียชีวิตจากการผ่าตัดรักษามะเร็งตับร้อยละ 3

– ผลการรักษาขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ตัวคนไข้ ภาวะการทำงานของตับ หากร่างกายคนไข้ไม่แข็งแรงพอ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย หรือถ้าหากภาวะการทำงานของตับเสื่อมประสิทธิภาพจะมีความเสี่ยงต่อภาวะไตวายจากการผ่าตัด

– สามารถรักษาให้หายขาดได้ในระยะเริ่มต้น หากเป็นมากจะรักษาได้ยาก

– การผ่าตัดเปลี่ยนตับสามารถทำได้ในคนไข้ที่มีอาการไม่มาก และมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

– ในผู้ป่วยที่มีภาวะตัวเหลือง ขาบวม ท้องโต แสดงออกถึงภาวะการทำงานของตับที่เสื่อมประสิทธิภาพ การรักษาด้วยการผ่าตัด การทำเคมีบำบัด การฉายแสง หรือการได้รับยาที่รุนแรง อาจเป็นอันตราย

ที่มา

rama.mahidol.ac.th

samitivejhospitals.com

 ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ contestedstreets.com